ผู้บริหาร
 คณะผู้บริหาร

คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์

บุคลากร
สายชั้นอนุบาลศึกษา
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
สายชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ฝ่ายบริหารบุคลล
ฝ่ายบริหารงานงบประมาณ
ฝ่ายบริหารทั่วไป
ฝ่ายบริหารวิชาการ
ลิงค์ที่น่าสนใจ















เผยแพร่ผลงาน

บทคัดย่อ

 

ชื่อผลงาน                  การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)

                   เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน

                                กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์          ชั้นประถมศึกษาปีที่  3

ผู้ศึกษา                 นางกุลณี  นากแก้วเทศ

ตำแหน่ง                     ครู  วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ                                                                                   

สถานศึกษา                โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์  สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ 

อำเภอเมือง  จังหวัดอุตรดิตถ์

 

 

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)ที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้น  โดยดำเนินการศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1  โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์  ปีการศึกษา 2556  จำนวน  26 คน และปีการศึกษา 2557  จำนวน 27 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  ชุดกิจกรรมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 5 ชุด  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมจบในแต่ละชุด  ชุดละ 10 ข้อ และใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมครบทั้ง 5 ชุด  จำนวน 30 ข้อ  เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale)  ตรวจสอบคุณภาพด้านความเหมาะสมของชุดกิจกรรม  คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  ความยากง่าย  อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น  โดยใช้หลักการสร้างและตรวจสอบคุณภาพด้วยระบบอิงเกณฑ์  และคุณภาพของแบบสอบถามความพึงพอใจด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น  วิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม โดยใช้เกณฑ์  E1/E2  เท่ากับ 70/70  ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบด้วยสถิติแบบ  Dependent  group  t-test   และแบบ

One group  t-test   ผลการศึกษาพบว่า

                1.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  มีความเหมาะสมในด้านเนื้อหา  กิจกรรมการเรียนรู้  และรูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)  ซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ  ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79  คะแนน  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  และเมื่อพิจารณาในแต่ละรายการพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการโดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.60-5.00  คะแนน

                   2.  คุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้ทดสอบก่อนเรียนและ

หลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมครบทั้ง 5 ชุด  มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่า IOC  ตั้งแต่ 0.80-1.00  มีความยากง่ายตั้งแต่ 0.65-0.88  ซึ่งสูงกว่าค่า LCL (ค่าความยากง่ายต่ำสุดของแบบทดสอบแบบอิงเกณฑ์) ทุกข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25-0.60  และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8694 

ส่วนแบบทดสอบหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมจบในแต่ละชุด ทั้ง 5 ชุด  มีคุณภาพด้านความเที่ยงตรง

เชิงเนื้อหาโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 มีค่าความยากง่ายตั้งแต่ 0.65-0.92 ซึ่งสูงกว่าค่า LCL ทุกข้อ  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20-0.88  และมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.8052-0.8585  ดังนั้นแบบทดสอบที่ผู้ศึกษาพัฒนาขึ้นจึงมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ของวิเคราะห์คุณภาพในระบบอิงเกณฑ์

                   3.  คุณภาพของแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม

สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  พบว่าแบบสอบถามฉบับนี้มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยมีค่า  IOC  ตั้งแต่ 0.80-1.00   มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.27-0.77  และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ  0.8299 

4.  ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์  พบว่าชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ  E1/E2   ปีการศึกษา 2550 เท่ากับ  81.87/80.27  ปีการศึกษา 2551 เท่ากับ 84.10/84.43  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80  

                   5.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรม

การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ในครั้งนี้  พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.33  คะแนน  สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  18.67  คะแนน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   

                   6.  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80  โดยนำคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 25.33  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ 84.43  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์การประเมินร้อยละ 70  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

                7.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน  (BBL)กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 คะแนน  เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละรายการ  พบว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ โดยมีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.52-4.81  คะแนน 

 

 

 

                  

 

 

             

 

 

 

   

 

 

 

 

 

โรงเรียนเทศบาลวัดคลองโพธิ์ 23 ถนนเจริญธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000 โทรศัพท์-โทรสาร 0-5541-1731
>